Trend ขายของใน IG ตอนนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง?

October 09, 2015 | ขายของออนไลน์, ธุรกิจออนไลน์

บทความนี้เป็นมุมมองส่วนตัวที่มาจากข้อสังเกตุของผู้เขียน ที่ระยะหลังมานี้มีความสุขในการ Window Shopping ผ่าน IG อย่างหนัก เรียกว่าว่างเมื่อไหร่ต้องเข้า IG เมื่อนั้น ส่องไปส่องมาด้วยระยะเวลาที่มากพอ เลยเห็นได้ข้อสังเกตที่น่าสนใจของ ขายของใน IG หลายๆอย่าง เช่นร้านค้าที่ขายดี อยู่มานาน หรือมีแนวโน้มที่จะเติบโตใน IG จะมีคุณสมบัติอย่างไร รวมไปถึงสังเกตุเห็นพฤติกรรมของตัวเองในฐานะผู้บริโภคที่จับจ่ายใช้สอยใน IG ด้วย ซึ่งจะว่าไปก็มีพอข้อแตกต่างกันอยู่บ้างระหว่างการ Shopping ผ่านทางหน้าเว็บไซด์ หรือ Fanpage พอสมควร

ก่อนอื่นเลย เรามาศึกษา Demographic  ของ users ที่ยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของ IG กันซักนิด

 

จาก  Infographic  นี้จะเห็นว่า บรรดาเหล่า users ที่ใช้  IG เป็นหลัก จะอยู่ในกลุ่มเป็นวัยรุ่นระดับมัธยมปลายจนถึงวัยทำงาน และส่วนมากเป็นผู้หญิง

ผนวกด้วยรูปแบบการแสดงผลและ Filter ของ IG นั้น เหมาะแก่การสื่อความรู้สึกต่างๆด้วยอารมณ์ของภาพ เพราะฉะนั้นหากจะให้วิเคราะห์จากข้อมูลทางสถิติรวมถึงฟังก์ชั่นของตัว IG เอง หากเราต้องการขายของใน IG สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเตรียมการแบบกว้างๆมีดังนี้

  1. ความสวยงามของภาพ

เชื่อว่าหลายคนคงเห็นด้วยว่า ถ้ารักจะลองขายของใน IG แล้ว การถ่ายทอดความสวยงามของสินค้าคงต้องเป็นเรื่องที่ต้องโฟกัสมาเป็นอันดับ 1 อย่างไรก็ตามข้อจำกัดความของคำว่าความสวยงามใน IG นี้ จะไม่ใช่แค่เน้นว่ารูปชัดเหมือนการลงรูปสินค้าในเว็บไซด์แต่เพียงอย่างเดียว เราต้องอย่าลืมว่าถึงมันจะเป็นการขายสินค้าเหมือนกัน แต่ก็เป็นการขายบนคนล่ะ Platform กัน เพราะฉะนั้น ในฐานะเจ้าของร้าน เราต้องตีโจทย์ให้แตกว่า แต่ล่ะ Platform นั้น เราควรนำเสนอ Display สินค้าอย่างไร จึงจะดึงความสนใจของลูกค้าได้

ข้อสังเกต

  • บ่อยครั้งที่รูปภาพของสินค้าที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ดึงดูด จะเป็นรูปของสินค้าที่แฝงไปด้วยไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้เป้าหมายของลูกค้าของเราเป็นหลัก เช่นสมมุติว่าเราขายกระเป๋าวินเทจ การถ่ายภาพกระเป๋าวินเทจที่วางอยู่บนโต๊ะ ข้างๆชั้นวางเครื่องประดับสไตล์โมรอคโคมือ 2 ที่หาซื้อได้ใน Alfies Antique Market จากอังกฤษ และมีนาฬิกาข้อมือที่มีสายทำด้วยไข่มุกของคุณยายพาดอยู่บนตัวกระเป๋าอย่างไม่ได้ตั้งใจ หรือภาพนางแบบใส่เดรสที่ดูแล้วหลุดมาจากยุค 90s สะพายกระเป๋าใบที่ว่า เดินเล่นอยู่แถวพระบรมหาราชวัง ย่อมดึงดูดใจได้มากกว่าการถ่ายรูปกระเป๋าที่วางบนฉากหลักสีขาวธรรมดาๆ นอกจากนี้ยังเป็นเพิ่มมูลค่าของแบรนด์ ได้ในคราเดียวกันอีกด้วย

  • รูปที่ได้รับความนิยมส่วนมากจะพลิกผันไปตามกระแสค่านิยมของผู้ใช้ IG เป็นหลัก(อย่าลืมว่า users ส่วนมากอายุ 18-29 ปี และเป็นผู้หญิง ) เช่นตอนนี้ก็จะเป็นแนว Slow life ก็ต้องใช้กึ๋นกันว่า สินค้าของเหมาจะล้อไปกับกระแสนี้ไหม และนำเสนอออกมาทำนองไหนให้สร้างสรรค์โดนใจ
  1. การจัดวางภาพ และ Mood and Tone

การจะตัดสินใจเลือกดูรูปของร้านใดร้านหนึ่งใน IG ว่ามีสินค้าที่เราสนใจหรือเปล่า หรือจะกด Follow ดีไหม บ่อยครั้งที่การตัดสินใจประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อเรากดเข้ามาสู่หน้า Home ของแต่ล่ะร้านค้าใน IG ซึ่งสังเกตได้ว่าร้านค้าใน IG ที่ได้รับความนิยม ล้วนแล้วแต่มีหน้า Home ที่ดูสวยงาม ร้อยเรียง Mood and Tone ของแต่ล่ะภาพรวมกันออกมาได้เป็นแนวเดียวกัน

เปรียบเทียบได้กับการที่เราได้เดินเข้าไปในร้านอาหาร หรือร้านเสื้อผ้าซักร้าน ที่ตบแต่งร้านอย่างพิถีพิถัน บรรยากาศดี แน่นอนว่าเราก็อยากที่จะใช้เวลาอยู่ในสถานที่แห่งนั้นให้นานขึ้นอีกสักหน่อย ซึ่งผลพลอยได้แบบไม่น้อยนิดแต่มหาศาลของการที่เราใส่ใจ วางแผนในการลงรูปแต่ล่ะรูป รวมไปถึงการคุมโทนสีของภาพ และการสื่ออารมณ์ของสินค้า แทบไม่ทันได้สังเกต ว่าด้วยพื้นที่เล็กๆบนหน้าจอมือถือของเราผ่าน IG นี้จะสามารถสื่อถึงตัวตนของ Brand แต่ก่อให้เกิด Brand Royalty ได้ไม่ยาก

Stelladot ร้านค้าออนไลน์ที่ขายเกี่ยวกับ Accessories ของอังกฤษใช้พื้นที่ทาง IG ในการโชว์สไตล์การสวมใส่เครื่องประทับของร้านที่จากแฟนๆทั่วโลก ที่มีทั้งบรรดา Celebrities, Influencers และสาวๆที่รักการแต่งตัวจากทางบ้านผ่าน #Stelladot

  1. Story หรือการเล่าเรื่องผ่านสินค้า

อันที่จริงข้อนี้ค่อนข้างก็ก้ำกึ่งๆกับข้อสังเกตส่วนตัวในข้อ 1 แต่ที่ยกขึ้นมาเขียนถึงอีกข้อ เพราะอยากชี้ให้เห็นว่าการสอดแทรกเรื่องราวของแบรนด์ และสินค้านั้นมีหลากหลายรูปแบบ โดยไม่จำเป็นต้องอิงกับกระแสสังคมเพียงอย่างเดียวก็ได้ บางทีเราอาจจะเลือกใส่คาแร็คเตอร์ให้กับสินค้าแต่ล่ะชิ้นของเรา ผ่านคอลเล็กชั่นต่างๆ แล้วเล่นสนุกไปกับมัน  ตัวอย่างที่อธิบายใด้เห็นภาพชัดที่สุด คาดว่าน่าจะเป็น IG ของร้านกระเป๋ารองเท้า แบรนด์ Hi-street ของบ้านเราอย่าง O&B

จับกระเป๋าของคุณมาแต่งตัว กระเป๋า 1 ใบ สามารถเปลี่ยนคาแร็คเตอร์ และ Represent ความเป็นตัวตนของเจ้าของได้มากมาย ผ่านการแต่งตัวเฉกเช่นเราๆท่านๆ

หรือลองใช้ความคิดสร้างสรรค์ลองตรองดูดีๆว่าสินค้าของเรานั้น มี Benefits อะไรออกมาให้นำเสนออีกบ้าง นอกจากการเป็นตัวสินค้าเองเพียงอย่างเดียว ถ้านึกภาพไม่ออก ลองตัวอย่างอันแจ่มว้าวจากแบรนด์คุ้กกี้ในวัยเยาว์ของเรากัน

ราชาเครื่องดืมสีดำในตำนานก็ไม่น้อยหน้านะ แถมมันก็เป็นข้อได้เปรียบเข้าไปอีกเมื่อสินค้าที่ถูกนำมาบอกเล่าเรื่องราวสนุกๆผ่าน IG นั้นไม่มีได้จำหน่ายแต่เพียงช่องทางออนไลน์เท่านั้น

ร้านขนมไทยของคนดังก็ใช้เทคนิคสร้าง Story ผ่านกรมวิธีการผลิต เน้นถึง Benefits ที่มีมากกว่าการเป็นขนม ด้วยการปั้นแต่งหน้าตาความน่ารักของขนมเป็นพิเศษ และยังสามารถยกระดับเป็นของขวัญที่สามารถมอบให้กันในโอกาสต่างๆได้ รวมถึงการใช้ Influencers เข้ามาช่วยโปรโมทอีกแรง

มาต่อกันที่พฤติกรรมของผู้บริโภคใน IG ดูบ้าง ตอนนี้ถ้าสังเกต เราจะเห็น Account ของ IG ประเภทหนึ่งที่เปรียบได้ดัง Hub (ส่วนตัวชอบเรียก Hub เหล่านี้ว่าคลังแสง) หรือ Account ที่รวมสินค้าที่แต่ล่ะชนิดจากร้านค้าใน IG ที่มีมากกว่าหลายร้อย Account มาอยู่ใน Account เดียวกันเพื่อการง่ายต่อการค้นหา เมื่อ Hub เหล่านี้มียอด Follwers ที่สูงขึ้น พฤติกรรมในการตามหาสินค้าของผู้บริโภคก็เริ่มเปลี่ยนตามไปด้วย แทนที่จะหาซื้อสินค้าใน IG นอกจากการใช้ Hashtag ตามปกติ ก็จะมาเริ่ม Follow คลังแสงดังกล่าวที่มีรูปของสินค้าจากร้านค้าทั้งใหม่แ ละเก่ามาเสิร์ฟถึงหน้าจอมือถือทุกวัน

นอกจากนี้ IG ยังมีปุ่มฟังชั่นพิเศษที่ชื่อว่า Direct Message ที่เป็นลูกศร ข้างๆปุ่มถูกใจ และคอมเม้นท์ เพื่อรองรับความคล่องตัวของตลาดของการซื้อขายสินค้าใน IG มากกว่าเดิม เช่นสนใจรูปไหน ก็สามารถกดปุ่มกดที่ใต้รูปที่สนใจ ส่งให้ร้าน หรือเพื่อนที่เรากำลัง Follow อยู่พร้อมกับพิมพ์ข้อตวามต่อได้ทันที

ซึ่งหากสนใจสินค้าที่เห็นจาก ads ก็กดส่งรูปเข้าไปถามร้านค้าได้ทันทีเลย และหากเริ่มมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น Platform การสั่งซื้อสินค้าทาง Line ก็อาจจะลดน้อยลงก็เป็นได้

เอาล่ะมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนจะเริ่มรู้สึกเหมือนกันจะว่าการปลุกปั้น สร้าง Brand ขายสินค้าทาง IG ที่มีการบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพนั้นเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และความสนุกสนานที่ไม่รู้จบ อีกทั้งนี่ยังเป็นเพียงยุคเริ่มต้นเท่านั้นเอง หากใครคิดว่าตัวเองมี Items เด็ดๆที่อยากนำเสนอ และใช้ IG เป็นดัง Gallery ที่ได้แสดงออกความคิดสร้างสรรค์ (แถมยังได้ตังค์ด้วย) พื้นที่บนโลก Social ที่ชื่อว่า IG แห่งนี้เป็นดังสนามเด็กเล่นของ users วัย 18 – 29 ปี และเป็นสนามประลองสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่แห่งนี้กำลังรอต้อนรับคุณอยู่!

พีรยา อังคะศิริวานนท์ (เมย์)
www.suay360.com