July 03, 2015 | ขายของออนไลน์, ธุรกิจออนไลน์
เมื่อพูดถึง การขายของออนไลน์ หรือ E-Commerce ที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็ดูเป็น Expert ประจำวงการนี้ ในขณะที่บางคนก็เป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่อยากก้าวเข้ามาแต่ยังไม่รู้ว่าจะขายอะไรดี
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้พบว่าบางทีการเป็นคนเก่ง บ่อยครั้งเลยที่ต้องต้องลงเอยแบบหัวเดียวกระเทียมลีบ เพราะว่าทำงานหนักอยู่คนเดียว หรือรู้แล้วล่ะว่าอยากขายไอ้นี่ จากนั้นก็ตัดสินใจลุยสุดชีวิต มันก็ยังไม่เพียงพอใน การขายของออนไลน์ ให้ประสบความสำเร็จได้อยู่ดีซึ่งถ้าไม่อยากเสียเวลาลองถูกลงผิด การตระเตรียมตัวให้พร้อมผ่านทำความเข้าใจกับ 3 ปัจจัยดังต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่สามารถช่วยย่นระยะเวลาให้ประสบความสำเร็จเร็วขึ้นได้
1. มี Partner ที่ดีซักคน (และเป็น Mentor ได้ในบางครั้ง)
การมี Partner ที่ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง จากการสังเกต Partner ที่ดีส่วนมากมักจะมีความเชี่ยวชาญคนล่ะด้านกับเรา เช่นอาจจะเป็นคนที่มีความสามารถในการนำเข้าหรือผลิตสินค้า แต่ไม่ถนัดในการทำการตลาดให้สินค้าเป็นที่รู้จัก หรือเป็นคนที่ถนัด Pitch งานกับลูกค้า แต่ไม่เข้าใจภาษา html เลย หรือบางทีอาจจะเป็นการโคจรมาเจอกันของ Creative สุดติสท์ กับนักบัญชีที่คร่ำครึในตำนานก็ได้
ข้อได้เปรียญของการมีการมี Partner ที่เป็นกับขั้วตรงข้ามกับเรานั้นทำให้งานแต่ส่วนที่ต่างคนต่างรับผิดชอบรุดหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะแต่ล่ะคนได้ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดและเชี่ยวชาญ
นอกจากนี้การสิ่งที่ควรมองหาในตัว Partner คือความซื่อสัตย์ และการมี Passion ในระดับที่ดุจเดียวกัน 2 คุณสมบัตินี้ในตัว Partner จะทำให้เราเคลื่อนไปข้างหน้าได้เร็ว เพราะเราสามารถวางใจใครซักคนในการบริหารได้ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงเวลาที่ดีหรือยากลำบาก และยังสนุกที่ได้มีเพื่อนร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหาระหว่างทาง ไม่ใช่พอเจออะไรหน่อยก็ท้อแล้วก็หาข้ออ้างเพื่อที่จะล้มเลิกในช่วงเวลาที่ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่
2. สินค้าและบริการที่แตกต่าง
ในยุคที่โลกกำลังถูกทำให้ Connected เข้าหากัน การมีความตั้งใจตั้งแต่แรกที่จะเสาะหาสินค้าและบริการที่ได้เปรียบคู่แข่งในเรื่องของกลไกราคาที่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ และแตกต่างในแง่ของ Features เช่นเป็น Innovative Products หรือเป็นประสบการณ์ของการบริการชนิดที่ว่าไม่สามารถหาจากที่ไหนได้อีก ถือเป็นจุดแข็งในธุรกิจของเราที่ทำให้เราไม่ต้องไปปวดหัวสู้รบปรบมือกับตลาด Red ocean, สามารถกำหนดราคาเองได้ และมีเวลาเหลือในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจของเราในด้านต่างๆได้อีกมากโข
อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้เล่นรายแรกของตลาดนั้นมีต้นทุนในการแนะนำสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคได้ที่รู้จักแฝงอยู่ด้วย ซึ่งต้นทุนตรงนี้จะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับไอเดียในการทำธุรกิจว่าต้องการให้อออกมาในรูปแบบใด ใช้วิธีไหนในการโปรโมทนั่นเอง
3. เว็บไซต์เพื่อนยาก
ในกรณีที่เป็น B2C เมื่อเราจับมือกับ Partner ที่ดี และติดอาวุธให้สินค้าเรียบร้อยแล้ว การมีเว็บไซด์ที่ใช้งานง่ายที่เรียกว่า User friendly (ที่รองรับมือถือ และ Support SEO) ที่มีข้อมูลของสินค้าและบริการ รวมถึงช่องทางการติดต่ออย่างครบถ้วนจะเป็นตัวช่วยในการปิดการขายให้เราได้ง่ายขึ้น หลายครั้งถึงขั้นชนิดที่ว่าไม่ต้องออกแรงทำอะไรเลยอยู่บ่อยๆ
โดยเบื้องต้นแนะนำใส่ใจในการเลือกสรรผู้ให้บริการในการทำเว็บไซด์ สำรวจดูหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นความรู้จริงของผู้ให้บริการ ความเข้าใจในความต้องการของลูกค้า บริการหลังการขาย รวมถึงสำรวจถึงข้อจำกัดของทางเราเองด้วยเช่น Platform ที่เขานำเสนอนี้มันง่ายหรือยากในการที่เราจะเข้ามาแก้ไขปรับแต่งเองภายหลังหรือเปล่า ค่อยๆถาม ค่อยๆคุย เพื่อที่จะได้เว็บไซด์อย่างที่เราต้องการและสามารถใช้งานเว็บไซด์นั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การมี Reference ของเว็บไซด์ต้นแบบที่เราชอบในแง่ของดีไซน์และ ฟังก์ชั่น แล้วค่อยๆเลือกเฟ้นจากผลงานที่ผ่านมาของผู้ให้บริการแต่ล่ะรายก็เป็นอีกวิธีในการที่จะทำให้เรารู้ว่าผู้ให้บริการรายไหนตอบโจทย์เราได้มากที่สุด
ท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าบางครั้งเศรษฐกิจจะไม่เป็นใจ แต่ด้วย 3 ปัจจัยเบื้องต้นซึ่งเราให้ค่าในการเลือกเฟ้นมาตั้งแต่แรกที่ผนวกด้วยความแตกต่าง และความเข้าใจต่อธุรกิจที่เราทำอย่างถ่องแท้นี้ จะเป็นตัวช่วยต่อยอดให้ การขายของออนไลน์ ของเราพบกับความเป็นไปได้ที่ไม่รู้จบ และโตขึ้นมาได้ในระยะเวลาที่ไม่นานนัก
พีรยา อังคะศิริวานนท์
www.suay360.com
Tags: startup, ประสบความสำเร็จ, เริ่มต้นธุรกิจ