เผยเคล็ดลับเกี่ยวกับการเขียนของ 3 กูรู

November 24, 2014 | พัฒนาชีวิต

สรุปคุณแทป วริศ

4 สิ่งที่นักเขียนทำ

1.รับข้อมูลให้มาก ถ้าเรามีข้อมูลมาก เราก็สามารถนำเรื่องนั้น เรื่องนี้มาเขียนให้เป็นเรื่องราวได้

2.เขียนมันทุกวันทำมันบ่อยๆ ถ้าไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนักเขียน ก็ต้องทำมันเขียนมันทุกวัน สร้างวินัยให้กับตัวเอง

3.อย่าเสียดายเนื้อหาที่ไม่โดน ทำใจไว้ได้เลยสิ่งที่เราเขียนไปใช้ได้จริงแค่ 20-30% เท่านั้นเอง ที่เหลือต้องโยนทิ้งไปเพราะว่าเนื้อหาใช้ไม่ได้ อย่าเสียดายเลย

4.หาคนติงาน (ที่หวังดี) ให้เจอ อาจจะเจ็บปวดในช่วงแรกแต่เชื่อเหอะ ต่อไปมันจะดีเอง จงรับฟังคำชื่นชม แต่จงปรับปรุงกับคนที่ติงานเราเพื่อให้ดีขึ้น ห้ามท้อ คิดซะว่าได้บทเรียนคราวหน้าก็ปรับให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

สรุปคุณแทป วริศ และ คุณบอย วิสูตร พูดคุยแลกเปลี่ยนกันบนเวที

เวลาจะเขียนอะไรสักอย่างทำยังไง?          

รวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งแล้วมาสรุปข้อมูลเพื่อเขียนให้แบบของเรา เพื่อเรื่องราวของเราเข้าไปด้วย ที่สำคัญเขียนให้สั้น เขียนให้กระชับ เข้าใจได้ง่าย ผู้คนมีเวลาจำกัด

ทำยังไงให้มีผู้คนเข้ามาอ่าน?

ทุกอย่างอยู่ที่เนื้อหา ให้คิดเสมอว่าตัวเราเป็นธุรกิจ ตัวเราเท่ากับธุรกิจที่เราทำเพราะฉะนั้นสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เขียนแต่ละครั้งพยายามทำมันออกมาให้ดีที่สุด ยิ่งเป็นการออกหนังสือยิ่งต้องทำมันให้ดีมากๆ ถ้าทำได้ผู้คนก็จะเข้ามาเอง

โอกาสที่ได้จากการเขียนหนังสือมีอะไรบ้าง?

เมื่อก่อนผมจะให้สื่อมาต้องเรียกแล้วเรียกอีก หลังจากที่ผมออกหนังสือสื่อก็มาขอสัมภาษณ์เองเลย มีบรรยายตามที่ต่างๆ เรื่องเงินไม่ต้องพูดถึง มากไปกว่านั้นผู้ใหญ่ชอบหนังสือที่เขียน เลยเรียกไปคุยสร้างโปรเจคใหม่ด้วยกัน หนังสือเป็นใบเบิกทางที่ดีมาก

ถ้าเขียนไม่ได้ทำยังไง?

ก็นั่งเขียนไปเรื่อยๆ ให้มือมันขยับ แล้วเดี๋ยวข้อมูลก็จะมาเอง หรือ เมื่อเป็นคนคิดเยอะอยู่แล้ว เมื่อข้อมูลมีก็จดไว้ก่อนเกี่ยวกับคำพูดหรือหัวข้อนั้นๆ จากนั้นเตรียมการไว้ล่วงหน้าบางทีคิดอะไรไม่ออกเห็นหัวข้ออาจจะอ๋อ แล้วมีเรื่องเขียนก็ได้

สรุปคุณโจ มณฑานี

อย่าใช้คำว่าเขียนหนังสือ แต่จงใช้คำว่า ประพันธ์หนังสือ ในต่างประเทศคำว่า Author กับ Writer แยกกันนะ ความหมายต่างกันสิ้นเชิง วันนี้เรามาพูดถึงการประพันธ์หรือการแต่งหนังสือ

เคล็ดลับการประพันธ์ (Creative Writing)

1.เขียนจากสิ่งที่ “รู้”

2.เขียนจากสิ่งที่ “รัก”

3.เขียนจากสิ่งที่ “เชื่อ”

4.เขียนจากสิ่งที่ “ใฝ่ฝัน”

5.เขียนจากสิ่งที่ “มีเรื่องจะเล่า”

 

แรงบันดาลใจการประพันธ์

1.จากเรื่องใกล้ตัวผู้เขียนที่สุด

2.จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน

3.จากการหมั่นสังเกตและเฝ้าดูเรื่องราวผู้อื่น

4.จากจินตนาการ

5.จากความประทับใจหรือสะเทือนใจ

 

เขียนอย่างไรให้คนอื่นนิยมชมชอบ

1.เขียนอย่าง “มีชีวิต”

2.”เร้าอารมณ์” ผู้อ่าน

3.เปิดและปิดเรื่องน่าสนใจ “กระตุ้นให้ติดตาม”

4.ทำให้คนอ่าน “รักและผูกพันกับตัวละคร”

5.คำบรรยายอย่ายาว อย่าใช้คำเยิ่นเย้อซ้ำความ

6.ภาษาไทยต้องแม่นยำ